เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2567, 17 –25 AUG

อัพเดทและเที่ยวชมงาน

ทำไมถึงต้องห้ามพลาด PTDW 2024 ในครั้งนี้ !

ทำไมถึงต้องห้ามพลาด PTDW 2024 ในครั้งนี้ !ถึงทีชาวใต้แสดงพลังในเทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2567 ยิ่งมาในธีม The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก! ก็ต้องพามาส่องว่า Pakk Taii Design Week 2024 ปีนี้ มันหรอย มันเริ่ด มันได้แรงอกอย่างไรไม่ว่าจะจำนวนโปรแกรมที่ตามชมกันไม่หวาดไม่ไหว ละลานตา น่าตื่นตาตื่นใจในหลากหลายรูปแบบ พร้อมทั้งเนื้อหา ความรู้และเรื่องราวจัดหนักจัดเต็มตลอด 9 วัน ระหว่าง 17-25 สิงหาคม 2567 ทั่วทั้งย่านเมืองเก่าสงขลา สมิหลา หาดใหญ่ จะนะ และปัตตานี173+ โปรแกรมน่าสนใจเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วสองเท่า ชมงานกันจนตาฉ่ำ แม้เวลาเทศกาลอยู่ระหว่าง 11:00- 21:00 น. แต่ก็สามารถสัมผัสกับส่วนหนึ่งของเทศกาลได้เช้าจรดคํ่า ด้วยจำนวนโปรแกรมที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เทียบกับเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ปีที่แล้ว ว่าแล้วก็อย่าลืมเช็คเวลาและโปรแกรมต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ https://www.pakktaiidesignweek.com/ptdw2024 ที่รวบรวมทั้งสถานที่ เวลาและคำอธิบายของเทศกาลไว้ครบจบที่เดียว243+ พลังคนทำงานสร้างสรรค์ปักษ์ใต้มาครบทุก Generation ทั้งรุ่นเก๋า รุ่นใหม่ และนักสร้างสรรค์รับเชิญ งานสร้างสรรค์ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่คือมุมมองใหม่ๆ จากสายตาของนักสร้างสรรค์ในพื้นที่ และนักสร้างสรรค์รับเชิญที่เล็งเห็นศักยภาพของปักษ์ใต้ผ่านรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย ในคอนเซ็ปต์หลักทั้งผ่านภาพยนตร์ อาหาร ศิลปะและงานคราฟต์ งานเทศกาลและโปรเจกต์พัฒนาเมืองน่าอยู่13 รูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายจะสายอ่าน สายฟัง สายชม สายชิม สายซึมซับ สายไหนๆ ก็สามารถมีส่วนร่วมกับเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ 2567 ครั้งนี้ได้ ร่วมเรียนรู้ประวัติศาสตร์รากเหง้า ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของผู้คนที่หลากหลายผ่านนิทรรศการ การแสดง เวิร์กชอป ทัวร์กิน ตลาดนัดสร้างสรรค์ ที่มัดรวมมานำเสนอในรูปแบบสร้างสรรค์และน่าติดตาม50+ สถานที่จัดกิจกรรมต่อยอดแรงบันดาลใจ ด้วยสถานที่จัดงานที่กระจายไปในมุมใหม่ๆ ของเมือง ในร้านอาหาร ศาลเจ้า พื้นที่สาธารณะ ริมทะเล ตรอกซอกซอยหรือโรงเรียน ช่วยกระจายแรงบันดาลใจในการมองเห็นศักยภาพและโอกาสใหม่ๆ ให้กับปักษ์ใต้ในด้านงานสร้างสรรค์ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพและจินตนาการถึงขีดจำกัดใหม่ๆ ของเมือง ทั้งสงขลา หาดใหญ่และจะนะ รวมทั้งบอกเล่าเรื่องราวของเพื่อนบ้านอย่างปัตตานีเช่นกันไม่ว่าเหตุผลเหล่านี้จะถูกใจมากน้อยแค่ไหน แต่ Pakk Taii Design Week 2024 รอบนี้ในธีม “The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก!” รับรองว่าด่าย-แหร่ง-อ็อก ทั้งชาวใต้และผู้มาเยือนถ้วนหน้ากันแน่นอน#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

13 รูปแบบกิจกรรมสุดจึ้ง ! ที่จะได้เจอในปักษ์ใต้ดีไซน์วีค

13 รูปแบบกิจกรรมสุดจึ้ง ! ที่จะได้เจอในปักษ์ใต้ดีไซน์วีคนับถอยหลังหรือเดินหน้าก็เหลือเวลาอีกไม่ถึงหนึ่งเดือน หลากหลายโปรแกรมก็ได้เดินเครื่องปล่อยภาพโปสเตอร์กันออกมาไม่หวาดไม่ไหว เราเลยอยากพามาอุ่นเครื่องเตรียมตัวให้พร้อม ทั้งสายคอนเทนต์ สายเนิร์ด สายชิลล์ สายลงลึกวัฒนธรรม หรือสายกิน กับทั้ง 13 รูปแบบกิจกรรม ให้เต็มอิ่มเรื่องราวปักษ์ใต้ไปทั้ง 9 วันรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ไม่เพียงช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเรื่องราวของวัฒนธรรมปักษ์ใต้เท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่สื่อสารและเล่าเรื่องด้วยวิธีที่น่าสนใจ ช่วยเน้นยํ้าให้ผู้เข้าชมงานเห็นว่า #ปักษ์ใต้มีดีไม่เหมือนใคร เป็นอย่างไร พบกันใน Pakk Taii Design Week 2024 ระหว่างวันที่ 17 – 25 สิงหาคม 2567 ณ เมืองเก่าสงขลา สมิหลา หาดใหญ่ จะนะ และปัตตานีExhibition & Showcase l นิทรรศการและการจัดแสดงผลงาน สายเนิร์ดจัดเต็มทั้งความรู้และข้อมูล จากวัฒนธรรมพื้นถิ่นโดยเฉพาะด้านอาหารและงานออกแบบที่หยิบยกเรื่องราวท้องถิ่นในปักษ์ใต้ มาปรับมุมมอง ใส่ฟังก์ชันใหม่ๆ นิทรรศการเติมเต็มความรู้และบอกเล่าเรื่องราวของภาคใต้ในแง่มุมต่างๆ เรามาแอบสปอยล์เบาๆ ปีนี้เตรียมตัวพบกับ นิทรรศการบอกเล่าเรื่องราววัตถุดิบท้องถิ่นใต้ ที่ไม่ได้เล่าให้เห็นด้วยตา แต่ได้สัมผัสและลองชิม อีกทั้งงานสร้างสรรค์ที่ต่อยอดจากวัฒนธรรมภาคใต้Installation l งานศิลปะจัดวางงานออกแบบที่ผ่านการคิดและศึกษาแนวคิด จนออกมาเป็นผลงานให้ได้ชื่นชมที่ติดตั้งอย่างโดดเด่น แอบบอกว่าปีนี้ มีงานศิลปะจัดวางให้เชยชมอยู่ริมทะเล แต่จะสวยงามเตะตาแค่ไหน ต้องรอชม งานศิลปะสะดุดตา ช่วยทำให้ฉุกคิดถึงสถานที่จัดวาง การใช้งานและผลกระทบต่อความรู้สึกต่อการมีอยู่ของชิ้นงาน รวมทั้งเนื้อหาที่ถูกสื่อสารออกมาเช่นกันFilm Screening l การฉายภาพยนตร์ภาพยนตร์ที่ถูกฉายในสถานที่ต่างๆ ทั่วเมืองเก่าสงขลา ความพิเศษของปีนี้คือ ฉายภาพยนตร์เรื่องราวของชุมชนในปักษ์ใต้ ถูกถ่ายทอดมาในรูปแบบสารคดี ที่กินใจและเรียกนำ้ตา ในเรื่องราวที่บีบคั้นจิตใจและสร้างแรงฮึกเหิมได้ในเวลาเดียวกัน โปรแกรมภาพยนตร์อัดแน่น ครบทุกอรรถรส ทั้งหนังสั้นนักศึกษา หนังสะท้อนเรื่องราวภาคใต้และหนังที่ถูกคัดสรรมาเพื่อเพิ่มมวลบรรยากาศ ให้กลมกล่อมกับเทศกาลมากยิ่งขึ้น Pop-up Canteen l โรงอาหารป๊อบอัพ กิจกรรมเปิดประสบการณ์สายกิน ด้วยโรงอาหารป๊อบอัพที่นำเสนอวัฒนธรรมการกินแบบปักษ์ใต้ พร้อมเรื่องราวของวัตถุดิบที่มัดมารวมไว้ให้แล้วที่นี่ที่เดียว ส่วนปีนี้เรามีอาหารพหุวัฒนธรรม 135+ เมนู ที่เป็นทั้งเมนูดั้งเดิมและเมนูพิเศษที่รังสรรค์ขึ้นใหม่ ร้านอาหารที่ตั้งใจเสิร์ฟอาหารพหุวัฒนธรรมของภาคใต้ ทั้งไทย เพอรานากันและมุสลิม โดยมะๆ มาเข้าครัว เสิร์ฟพร้อมเรื่องราวให้ได้ชิมตลอด 9 วันTalk l การพูดคุยและเสวนา เสวนา พูดคุย ในเรื่องราวน่าสนใจ ความพิเศษของปีนี้คือ การได้เสวนาเรื่องภาพยนตร์กับผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ นักแสดงและคนทำงานภาพยนตร์ระดับแนวหน้าของประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์รางวัลระดับโลก เสวนาที่จะพาไปกระทบไหล่คนในวงการภาพยนตร์ ทั้งรุ่นเก๋าและรุ่นใหม่ ผ่านประสบการณ์ที่หลากหลายจากไทยและต่างประเทศ ส่งต่อแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่Workshop l เวิร์กชอปเวิร์กชอปที่ชวนมาเรียนรู้เรื่องราวและใช้เวลาสัมผัสกับเรื่องราว ให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น แอบมาบอกว่าปีนี้ งานคราฟต์และศิลปะมีเวิร์กชอปขนมาให้เข้าร่วมเป็นสิบ เตรียมตัวลงทะเบียนกันให้ไว! กิจกรรมที่จะทำให้ดื่มดำและดำดิ่งลึกลงไปในวัฒนธรรมปักษ์ใต้ ทั้งแนวคิด ต้นทุนทางวัฒนธรรม จนทำให้เกิดเป็นผลงานสักชิ้น ผ่านเรื่องราวของกลุ่มงานสร้างสรรค์Performance & Show l ศิลปะการแสดงและการแสดงสดทุกรูปแบบ ศิลปะการแสดงที่ส่งต่อมหรสพและการแสดงท้องถิ่น สำหรับปีนี้การแสดงก็มีให้ตื่นตาตื่นใจ ทั้งแบบใหม่ แบบดั้งเดิม ที่มีให้เพลิดเพลินตลอดงานกว่า 20 โชว์ แสงไฟเพลินตา ท่วงทำนองเพลินใจ เพลิดเพลินไปกับแสงไฟและมหรสพ ที่อาจคุ้นหูแต่ไม่ค่อยคุ้นเคย เพราะเป็นศิลปะการแสดงที่ถูกเพิ่มเติมความสร้างสรรค์ สดใหม่และเข้าถึงง่ายMusic l ดนตรี การแสดงดนตรีที่เพิ่มบรรยากาศสนุกสนานให้กับเทศกาล ดนตรีโฟล์คท้องถิ่นภาคใต้และดนตรีร่วมสมัย ให้เพลิดเพลินใจตลอดทั้งงาน สปอยล์ว่า ปีนี้มีดนตรีแจ๊สจัดเต็มให้ได้ดื่มดํ่ากับบรรยากาศเทศกาลเพลินๆ ดื่มด่ำกับดนตรีเพราะเสนาะหู ฟังแล้วเพลิดเพลินไปตลอดทั้งงาน ทั้งในรูปแบบเมนสตรีมฟังง่ายสบายๆ หรือผ่อนคลายกับดนตรีพื้นถิ่นที่หาฟังได้ไม่ง่ายLighting / Projection Mapping & Interactive l งานออกแบบแสง และอินเตอร์แอคทีฟ สีสันสาดแสงช่วยเติมแสงสว่างให้สถาปัตยกรรมชั้นเลิศ แต่งเติมความน่าสนใจให้กับเมือง แต่ปีนี้เตรียมตัวพบกับความยิ่งใหญ่ บนอาคารโรงเรียนมหาวชิราวุธด้วยฝีมือเยาวชนสงขลา จัดหนักจัดเต็มฝีมือแน่นๆ แน่นอน และในอีกหลายทั้งสงขลาและหาดใหญ่ เติมเต็มเรื่องราวและร้อยเรียงงานสร้างสรรค์ ให้เข้ากับสถานที่และสถาปัตยกรรม ดึงดูดให้ผู้เข้าชมได้มาถ่ายภาพ และสร้างบรรยากาศเทศกาลให้กับเมืองExperiment l โปรแกรมเชิงทดลอง โปรแกรมที่จัดเพื่อค้นหาศักยภาพใหม่ๆ ของบริบทพื้นที่และเรื่องราวอัตลักษณ์ของผู้คน เรามาแอบสปอยล์เบาๆ ปีนี้เตรียมตัวพบกับโปรแกรมเชิงทดลองบนพื้นที่จริงในเนื้อหาที่เข้มข้นและลึกซึ้งมากกว่าเดิม อย่างการจัดการปัญหาขยะในพื้นที่ หรือการออกแบบทางเดินเท้าในย่านเมืองเก่า หนึ่งในความตั้งใจให้ปักษ์ใต้เป็นเมืองน่าอยู่ โปรแกรมเชิงทดลองได้ช่วยเปิดพื้นที่ของความเป็นไปได้ใหม่ๆ รวมทั้งสร้างบทสนทนาให้กับสิ่งของรอบข้าง ถึงในแง่การพัฒนาและความเป็นไปได้Market & Promotion l ตลาดนัดนักสร้างสรรค์ ตลาดชุมชน และโปรโมชั่น ตลาดงานคราฟต์อาจไม่ได้วนเวียนไปให้พบเห็นอยู่บ่อยนัก จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้เลือกชมเลือกซื้อสินค้าคราฟต์ดีๆ สักชิ้น เสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า ตลาดนัดสร้างสรรค์ มันเริ่ด มันหรอย ปีนี้เลยมีมาให้ไปละลายทรัพย์กันแน่นอน นอกจากชมแล้ว ก็ยังมีให้ช้อปเลือกซื้อของดีโดนใจ ทั้งงานคราฟต์เก๋ๆ หรือจะเป็นวัตถุดิบที่ถูกคัดสรรมาแล้ว ให้เลือกซื้อติดไม้ติดมือกลับบ้านTour l ทัวร์ ทัวร์ช่วยทำให้เราได้ซึมซับเนื้อหาและประสบการณ์ที่ถูกออกแบบมาแล้วอย่างดี อาจเป็นการไปสัมผัสวิถีท้องถิ่น สำหรับปีนี้ทัวร์กลับยิ่งใหญ่กว่าเดิม กลายเป็นทัวร์ตามหาแหล่งวัตถุดิบ ทั้งนำ้ตาลตโนด เต้าหู้ โรงงานซีอิ๊ว และเต้าหู้ยี้เต็มวัน กับสองเชฟผู้รอบรู้ เชฟม่อน-คุณสุวิจักขณ์ กังแฮ และเชฟอุ้ม-คณพร จันทร์เจิดศักดิ์ การไปให้เห็นกับตาและสัมผัสผ่านการเดินทาง ช่วยทำให้เรื่องราวถูกถ่ายทอดไปได้ดียิ่งขึ้น เช่นเดียวกับเรื่องราวของอาหาร ที่น้อยคนนักไม่เคยรู้ ไม่เคยสัมผัส ถึงวัฒนธรรมรากเหง้า ที่มาของวัตถุดิบและกรรมวิธีได้มาซึ่งเครื่องปรุงประจำบ้าน Open House l เปิดบ้านนักสร้างสรรค์ เปิดบ้านชมสถานที่ดีต่อใจที่ควรไปเยือนสักครั้ง ปีก่อนห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย ได้เปิดบ้านต้อนรับเรา รับรองว่าปีนี้มีสถานที่เด็ดๆ รอให้ผู้ชมเทศกาล มาเยี่ยมเยียนมากขึ้นอีกแน่นอน โอกาสดีที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมสถานที่ หรือซึมซับบรรยากาศของอาคารสักหลัง ในช่วงเทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ที่จะมาถึง อาจไปสะกิดความสนใจบางอย่างในจิตใจได้

Style Stay นอนดีมีสไตล์ มัดรวมที่พักสวย หาดใหญ่-สงขลา

Style Stay นอนดีมีสไตล์ มัดรวมที่พักสวย หาดใหญ่-สงขลาประสบการณ์ของที่พักช่วยทำให้เรารักและจดจำเมืองๆ หนึ่งได้ลึกซึ้งมากขึ้น บรรยากาศอบอุ่นช่วยให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย สบายและปลอดภัย พร้อมกับเรื่องราวของงานดีไซน์และบรรยากาศของพื้นที่ จะช่วยให้การชมเทศกาล Pakk Taii Design Week ปีนี้ กลมกล่อมและน่าประทับใจยิ่งขึ้น ไปพร้อมกับลิสต์ที่พักนอนดีมีสไตล์แบบที่คัดสรรมาอย่างดีPakk Taii Design Week 2024 l 17 – 25 สิงหาคม 2567 นอกจากมาชมงานออกแบบสร้างสรรค์แล้ว เราอยากชวนมาซึมซับเมืองผ่านการ Staycation ทั้งหาดใหญ่-สงขลา เพื่อจะเข้าใจว่า “ปักษ์ใต้มีดีไม่เหมือนใคร” เป็นอย่างนี้นี่เองบ้านในนคร บูทีคโฮเทลจากอาคารเก่าแก่อายุ 100 กว่าปีบ้านหัวมุมถนนนางงามตัดกับถนนปัตตานี ที่พักสะดุดตาแห่งนี้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศ ด้วยการตกแต่งด้วยวัสดุผสมผสานทั้งพื้นถิ่นและจากต่างประเทศอย่างลงตัว ให้บริการทั้งหมด 6 ห้องที่มีการตกแต่งล้อไปกับชื่อแต่ละห้อง อีกทั้งให้ประสบการณ์อาหารเช้าที่น่าลิ้มลองในสวนเล็กๆ อีกด้วยบ้านในนคร บูติกโฮเต็ล สงขลา Baan Nai Nakhon Boutique Hotel Songkhlaตั้งอยู่ที่ 166 ถนนนางงาม ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลาCasa 33 โรงแรมรูปทรงโมเดิร์นสีขาวสะอาดตาบ้านเลขที่ 33 จากบ้านหลังเก่า 50 ปีของครอบครัวตระกูลคุณหลวงประธานราษฎร์นิกร ผู้พัฒนาเมืองสงขลา สู่บ้านพักแนวอบอุ่นเอิร์ธโทนที่มีทั้งสระว่ายน้ำ สวนเล็กๆ พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันแล้วภายในตกแต่งด้วยสีขาวดูสบายตาคู่กับงานพื้นและเฟอร์นิเจอร์ที่มีผิวสัมผัสของไม้สีอ่อนให้ความรู้สึกอบอุ่นเสมือนอยู่ที่บ้านตั้งอยู่ที่ 33 ถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ 1 ซอย 4 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาสงขลาแต่แรก โรงแรมแอนทีคที่พาคุณย้อนเวลา ไปเจอความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมโรงแรมสงขลาแต่แรก (Antique Hotel) เป็นที่รู้จักในนามของโรงแรมที่มีความเป็นเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมความเก่าแก่ การตกแต่งภายในผสมผสานศิลปะทั้งแบบจีนดั้งเดิมและศิลปะแนวใหม่ ประดับตกแต่งด้วยถ้วยชามจีน แจกันจีน เตียงเก่าคหบดี และตู้โบราณตั้งอยู่ที่ 40 ถนนเพชรคีรี ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลาLaguna Grand Songkhla โรงแรมห้าดาวแห่งแรกในจังหวัดสงขลาโรงแรมลากูน่าแกรนด์สงขลา เป็นโรงแรม 5 ดาวแห่งแรกในจังหวัดสงขลา มีห้องพัก 166 ห้อง ทั้งแบบห้อง Deluxe ไปจนถึงห้อง Executive Suite ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกตั้งแต่สปา ซาวน่า ฟิตเนส บาร์ สระว่ายน้ำและคาราโอเกะ ที่ถูกโอบล้อมไปด้วยวิวทิวทัศน์อันงดงามของโค้งน้ำคลองพะวงและภูเขาที่รายรอบ พร้อมกลิ่นอายวัฒนธรรมของจังหวัดสงขลาตั้งอยู่ที่ 81 ต.พะวง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลาRurn Design โฮสเทลสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่บ้าน “เริน” แปลว่า บ้าน ถูกตั้งเป็นชื่อของโฮสเทลอบอุ่นและร่มรื่น ซึ่งสะท้อนมาจากความตั้งใจของสถาปนิกและเจ้าของ ที่อยากให้แขกรู้สึกเหมือนอยู่บ้านหรือไปนอนบ้านเพื่อน ด้วยการออกแบบสไตล์ที่ชื่นชอบส่วนตัวแบบอินดัสเทรียลลอฟต์ตั้งอยู่ที่ 12 ซอย 1/1 ถนนทุ่งรี-โคกวัด ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาThe Lantern Hatyai โรงแรมโมเดิร์นไชนีสใจกลางหาดใหญ่โรงแรมแลนเทิร์น ตกแต่งให้มีกลิ่นอายของวัฒนธรรมจีนร่วมกับความโมเดิร์นสมัยใหม่ โครงสร้างตึกมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นที่สะดุดตา แต่ละห้องตกแต่งด้วยสีสันศิลปะที่แตกต่างกันไป ทั้งเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง โทนสีและลวดลายศิลปะการตกแต่งที่เป็นเอกลักษณ์แบบจีน โดยนำคาแรคเตอร์ของโรงเตี้ยมมาใช้ เพื่อให้พื้นที่ด้านข้างอาคารให้เป็นมุมพักผ่อนนั่งจิบชา กาแฟ ในบรรยากาศที่ร่มรื่นตั้งอยู่ที่ 166/4 ถนนนิพัทธ์อุทิศ 2 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาHanuman บูทีคโฮเทลสะท้อนกลิ่นอายพื้นถิ่นภาคใต้หนุมานเป็นบูทีคโฮเทลที่อยากส่งความประทับใจในการมาเยือนหาดใหญ่ให้กับทุกคน ที่เชื่อว่าหาดใหญ่เป็นเมืองน่าค้นหา ทั้งอาหาร วัฒนธรรม รวมทั้งใกล้สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และไม่ไกลจากตัวเมืองสงขลาอีกด้วย หนุมานให้บริการทั้งในส่วน Stay&Eatery ที่พิเศษโดยเสิร์ฟอาหาร Southern California ใน Southern Thailand ตั้งอยู่ที่ 1 ถนนรัตนวิบูลย์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาYu Hostel Songkhla อยู่โฮสเทล ที่อยากชวนมาลองอยู่โฮสเทลในอุดมคติที่ไม่หวือหวาแต่สบาย พร้อมทั้งการบริการเป็นกันเองและอบอุ่นจากพนักงาน บนถนนนครในที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ มีโฮสเทลสีแดงสะดุดตาแต่ร่มรื่น เมื่อเข้าไปจะพบกับพื้นที่โปร่ง โล่งสบาย เหมาะกับการเป็นสถานที่พักผ่อนสำหรับวัยรุ่นนักเดินทางได้พบเจอเพื่อนใหม่ แลกเปลี่ยนบทสนทนาดีๆ กันตั้งอยู่ที่ 160-162 ถนนนครใน ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลาThe Habita Hatyai โรงแรมคุณภาพดีที่ให้ประสบการณ์ใหม่ฮาบิต้าให้ความสำคัญกับการออกแบบภายใน และการใช้พื้นที่ภายนอกเพื่อยกระดับการให้บริการ ความสะดวกสบายและความตื่นตาตื่นใจในแบบที่หาได้ยากในหาดใหญ่ การใช้สีเทา ไม้และโลหะสีดำช่วยเพิ่มความอบอุ่นและโมเดิร์นให้กับที่พัก โดยมีเป้าหมายในการบริการคือ แขกที่มาพักทุกท่าน กลายเป็นเพื่อนกับฮาบิต้าเมื่อกลับไปตั้งอยู่ที่ 151 ถนนแสงศรี ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาLa Pause Hatyai โรงแรมเล็กๆ ใจกลางเมืองที่เรียบง่ายและสะดวกสบายลาพอสให้บริการทั้งคาเฟ่และที่พักใจกลางเมืองหาดใหญ่ ที่จะให้ประสบการณ์ของสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น ด้วยการบริการใส่ใจแบบคนไทย ด้วยความเชื่อในการบริการที่ว่า ความหรูหราไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่เกิดจากความเรียบง่ายและการมุ่งเน้นที่จะสร้างประสบการณ์ไร้ที่ติตั้งอยู่ที่ 43-45 ถนนจุติอุทิศ 3 ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

Insight The South's Turn เจาะลึกความดีงามของปักษ์ใต้ผ่านงานสร้างสรรค์

Insight The South’s Turn เจาะลึกความดีงามของปักษ์ใต้ผ่านงานสร้างสรรค์หากจะพูดว่าปักษ์ใต้มีดีไม่เหมือนใคร อาจเทียบไม่ได้กับการเข้าไปค้นพบเรื่องราวความประทับใจด้วยตัวเอง รับประกันได้เลยว่าจะยิ่งชอบยิ่งหลงรักปักษ์ใต้มากกว่าที่เคย เราอยากพามาทำความรู้จักเรื่องที่ทุกคนคุ้นเคยกับภาคใต้ในรายละเอียดที่ลึกยิ่งกว่าที่เคย ผ่านการถอดรหัสเรื่องราวของงานสร้างสรรค์ 4 กลุ่ม ที่เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2567 จะหยิบมานำเสนอและต่อยอดกันในปีนี้ เอกลักษณ์เฉพาะด้านความจัดจ้านเฉพาะตัวของ อาหารใต้ (Gastronomy) อย่างผัดสะตอ แกงไตปลา แกงคั่วแบบต่างๆ เด่นดังจนทำให้ภูเก็ตได้ขึ้นทะเบียนเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก เมื่อปี 2015 (UNESCO City of Gastronomy, 2015) ศิลปะและงานฝีมือ (Art & Crafts) อนาคตของการต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมผ่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อย่างเช่น ‘โนรา’ ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) ดังไกลไปแสดงถึง Venice Biennale 2022 เทศกาลงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ภาพยนตร์ (Film) ภาคใต้เองเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญของการเป็นสุดยอดโลเคชั่น ส่งต่อฉากทัศน์ใหม่ๆ ให้เข้าไปเติมเต็มความสมบูรณ์ของวงการภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นทัศนียภาพด้านวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม องค์ความรู้ และธรรมชาติ ต่างถูกนำเสนอผ่านเลนส์ขยายให้ชาวโลกได้จับจ้อง กวาดรายได้ให้ทั้งประเทศไปมากกว่า 6,000 พันล้านบาท และงานพัฒนาเมือง (District Project) ที่คนใต้ต่างตื่นตัวในความรู้สึกยึดโยงกับพื้นที่จนเกิดเป็น Momentum ใหม่ๆ อย่างในจังหวัดตรัง ที่ชุบชีวิตพื้นที่คลองห้วยยางให้กลับมามีชีวาอีกครั้ง ในช่วงระหว่างเทศกาลสร้างสรรค์ “มาแต่ตรัง” เพื่อเป็นจุดแรกเริ่มของการโอบรับคนรุ่นใหม่ให้ผลิบานได้อย่างยั่งยืน01 เมืองที่ดี คือเมืองของผู้คน‘เขา นา ป่า เล’ เป็นคำอธิบายที่กระชับแต่ครอบคลุม เมื่อเรานึกถึงทัศนียภาพของเมืองในภาคใต้ แต่เมืองไม่ใช่เรื่องของภูมิทัศน์เท่านั้น ภาคใต้เองก็มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งส่งต่อต้นทุนทางวัฒนธรรมและยังหลงเหลือเป็นโบราณสถานหรือโบราณวัตถุอีกมากมาย แต่ความเจริญงอกงามของเมืองในปัจจุบัน อาจไม่ถูกวัดจากความอลังการหรือโอ่อ่าของสิ่งปลูกสร้างใดๆ มากไปกว่าคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะเมืองคือผู้คน คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในเมือง สามารถเป็นตัวชี้วัดสำคัญของเมืองน่าอยู่ได้อย่างเลี่ยงไม่ได้ ในแต่ละที่แตกต่างกันไปตามบริบทเมือง ความท้าทายของหัวเมืองปักษ์ใต้คงหนีไม่พ้น ปัญหาหลักๆ เช่นเดียวกับหลายจังหวัดในประเทศไทย อย่างด้านขนส่งมวลชน ความซบเซาของย่านเมืองเก่าหรือการขาดพื้นที่ปฏิสัมพันธ์สร้างสรรค์ สะท้อนออกมาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ปรากฏขึ้นในหลายเมือง เช่น “Creative Nakhon” ที่หยิบจับอัตลักษณ์ ต้นทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นกลายมาเป็นเทศกาลงานสร้างสรรค์ที่ช่วยปลุกย่านซบเซาในนครศรีธรรมราช ลงไปปัตตานีเกิดงาน “Pattani Decoded” เทศกาลที่ปลุกความหวังให้กับเมือง ผ่านการชุบชูชีวิตให้กับอาคารหลังเก่าด้วยนิทรรศการและงานสร้างสรรค์ ด้วยพลังของนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ในพื้นที่ ไปจนถึงล่าสุด “มาแต่ตรัง” ที่เลือกพื้นที่คลองห้วยยางในการจัดเทศกาล ปลุกระดมความเห็นต่อการพัฒนาคลองห้วยยาง พร้อมส่งต่อเป็นพื้นที่สาธารณะสร้างสรรค์และปลอดภัยให้กับคนเมือง นอกจากนี้พลังของชาวใต้เพื่อพัฒนาขนส่งมวลชน ยังมีให้เห็นในจังหวัดภูเก็ตอย่าง “ภูเก็ตซิตี้บัส” ที่ให้บริการรถเมล์ตั้งแต่สนามบินไปจนถึงหาดราไวย์ มาจากความร่วมมือของภาคเอกชนในพื้นที่และการส่งเสริมจากภาครัฐ ในครั้งนี้เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ก็ได้หยิบยกประเด็นเมืองของย่านเมืองเก่าสงขลาเพื่อมาใช้เป็นโจทย์ในงานออกแบบเพื่อทดลองปรับปรุงและแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน ด้วยหวังว่าจะทำให้เกิดการประสานความร่วมมือที่ดีของทุกคนในเมืองที่เกี่ยวข้อง ให้มีส่วนร่วมในการออกแบบเมืองที่ดีที่พวกเขาอยากให้เป็น02 ต่อยอดงานฝีมือท้องถิ่น สู่สินค้าไลฟ์สไตล์ของนักสร้างสรรค์รุ่นต่อไป เมื่อพูดถึงความหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาของผู้คน อดไม่ได้ที่ต้องเล่าถึงศิลปะและงานฝีมือ ที่ต่อยอดจากวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น อย่างเรื่องผ้า ภาคใต้บ้านเรามีทั้ง ผ้าปาเต๊ะ ผ้าทอเกาะยอ ผ้าทอนาหมื่นศรี ผ้าปะลางิง ซึ่งมีประวัติศาสตร์ที่มาเกี่ยวข้องกับผู้คนที่หลากหลาย แต่เมื่อเวลาผันเปลี่ยนการนำเสนอเพชรเม็ดงามเม็ดเดิมอาจต้องมีวิธีใหม่ๆ เช่นเดียวกับ “CLOTHEAR” แบรนด์จากหาดใหญ่ ที่หยิบจับผ้าปาเต๊ะมาดีไซน์ให้ใส่ได้ในชีวิตประจำวันและหลุดจากกรอบเดิมๆ ไม่จำเป็นต้องใส่ผ้าปาเต๊ะเป็นผ้านุ่งเสมอไป เช่นเดียวกับ “ศรียะลาบาติก” จากจังหวัดยะลา ที่ชุบชีวิตการทำผ้าปะลางิงที่หายไปกว่า 80 ปี ให้ถูกกลับมาชื่นชมอีกครั้ง ด้วยการออกแบบสมัยใหม่ให้เข้ากับยุคสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ไม่ใช่เพียงแค่ผ้าเท่านั้น งานสานก็เป็นหนึ่งในอาชีพดั้งเดิมของชาวใต้ที่สืบทอดกันมานาน เมื่อถูกหยิบมาใส่ความสร้างสรรค์ เพิ่มลูกเล่นและการใช้งาน อย่าง “SARNSARD” จากจังหวัดตรัง ที่เลือกหยิบจับเตยปาหนันมาปรับเปลี่ยนให้เป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น กระเป๋าตังค์ กระเป๋าถือ และ “กระจูดวรรณี” จากพัทลุง ที่สามารถนำกระจูดไปจับกับสินค้าเครื่องใช้และเครื่องแต่งกายได้ ตั้งแต่เก้าอี้ เสื่อ ไปจนถึงหมวก งานฝีมือเหล่านี้ นอกจากจะช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของภาคใต้ผ่านลวดลายในงานต่างๆ ยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภายในชุมชน สร้างโอกาสและรายได้ให้กับคนรักงานสร้างสรรค์ในท้องถิ่นอีกด้วย03 อาหารเผ็ดหรอยได้แรงและกลมกล่อมไปด้วยวัฒนธรรมหลากหลายมาปักษ์ใต้หยุดกินไม่ได้แน่นอน! เพราะอาหารที่นี่หลากหลาย ครบทุกรส ทุกแนว หากพูดถึงอาหารใต้ สิ่งแรกที่คนต่างจังหวัดนึกถึงคงมีคำว่า “แกงใต้” ผุดขึ้นมา เหตุผลที่แกงใต้ได้ขึ้นชื่อลือชาว่าอร่อย และเชื่อถือได้ในความเครื่องถึง รสถึง คงเป็นเพราะเครื่องแกงในภาคใต้ เน้นรสชาติที่เผ็ดร้อน จัดจ้านมากกว่าพริกแกงภาคอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารไทยพื้นถิ่นอย่างเดียวที่เป็นที่จดจำ อาหารจีนและมุสลิมก็เช่นเดียวกัน ด้วยภูมิประเทศแบบคาบสมุทร จึงเกิดเป็นเมืองท่ามากมาย ที่มีการแลกเปลี่ยน ค้าขายและเดินทางของผู้คนตั้งแต่อดีต อาหารบอกเล่าเรื่องราวของพื้นเพและถิ่นที่มาของผู้คน อาหารจีนในภาคใต้ก็ยังมีความหลากหลายลึกลงไปถึง จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ จีนไหหลำ อาหารตัวแทนของความเป็นจีนที่นิยม มีทั้งติ่มซำหรือแต่เตี้ยม บ๊ะกุ๊ดเต๋ ก๋วยเตี๋ยวแคะ ด้านอาหารมุสลิมในภาคใต้คงถือว่าหรอยเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ เนื่องจากชาวมุสลิมอาศัยกันหนาแน่นในภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น กรือโป๊ะ ข้าวมันแกงไก่ โรตี หรือแม้กระทั่ง ข้าวยำปักษ์ใต้ ซึ่งมีน้ำบูดูเป็นตัวเอก โดยการทำน้ำบูดูถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวมลายูมุสลิม ซึ่งช่วยเสริมรสชาติที่พิเศษร่วมกับผักและสมุนไพรนานาชนิดในข้าวยำ นอกจากอาหารจากแต่ละวัฒนธรรมจะโดดเด่นแล้ว ขึ้นชื่อว่าชูโรงด้านพหุวัฒนธรรม จึงไม่แปลกที่ปักษ์ใต้จะมีอาหารฟิวชั่น ไม่ว่าจะเป็น “เต้าคั่ว” ที่ผสมความเป็นมุสลิมและจีนแคะเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ประกอบด้วยเส้นหมี่ฮุ้น (หมี่ขาว) ถั่วงอกลวก ผักบุ้งลวก พร้อมกับหูหมูพะโล้ กุ้งทอด เบือทอด ราดด้วยน้ำส้มจากน้ำตาลโตนด อาจจะใส่ไข่เป็ดต้มสักฟองเข้ากันได้พอดิบพอดี อีกทั้ง “ข้าวสตู” ที่มีสูตรแบบฝรั่งแต่ผสมยาจีนและใส่กะทิในน้ำซุปแทนการใช้เนย เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ในครั้งนี้จะพาทุกคนมาลิ้มชิมรสอาหารใต้อย่างเข้าใจที่มาที่ไปในวัตถุดิบของอาหารแต่ละจาน พร้อมทั้งได้รู้จักกับชุมชนแหล่งอาหารต้นทางวัตถุดิบที่น่าทึ่ง ผ่านกิจกรรมหลากหลายรูปแบบที่รับรองเลยว่าประทับใจแน่นอน04 โอกาสและพื้นที่เฉิดฉายของคนทำหนังใครๆ ก็ทราบว่า อ่าวมาหยา เป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งโลกก็มีส่วนสำคัญมาจาก ภาพยนตร์เรื่อง เดอะบีช อิทธิพลของภาพยนตร์ สามารถสร้างแรงกระเพื่อมสำคัญให้กับการท่องเที่ยวได้ ภาพยนตร์เองก็มีความสามารถในการดึงศักยภาพ หรือความสุนทรียะบางอย่างของวัฒนธรรม เรื่องราว สถาปัตยกรรมหรือลักษณะพื้นที่มาเป็นที่รู้จักได้มากขึ้น อย่างกระแสซีรีส์ “แปลรักฉันด้วยใจเธอ” ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความรักของเด็กชายสองคนที่พัฒนาความสัมพันธ์ในวัยมัธยมปลายบนเกาะภูเก็ต เรื่องราวความรักทั้งคู่ดำเนินไปในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะสถาปัตยกรรม ที่ถ่ายทอดศิลปะแบบเพอรานากัน ตึกรามบ้านช่องที่มีเอกลักษณ์ แต่สิ่งสำคัญคือความฝันของเด็กสองคนที่อยากเรียนนิเทศศาสตร์ เป็นปลายทางของเส้นเรื่องที่ทั้งสองต้องพยายามไปให้ถึง โปรแกรมเทศกาลภาพยนตร์และชุมชนดูภาพยนตร์อิสระที่กำลังผลิบานในปักษ์ใต้ เปิดพื้นที่ให้โอกาสเยาวชน คนรุ่นใหม่ได้มาเรียนรู้เรื่องภาพยนตร์ได้ง่ายกว่า เต๋และโอ้เอ๋วในแปลรักฉันด้วยใจเธอ โปรแกรมเพื่อให้นักศึกษาและเยาวชนในปักษ์ใต้ ได้มีโอกาสเสวนาหรือเวิร์กช็อปทั้งด้านการหาไอเดีย การแสดง กราฟิก เพื่อบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ที่มีฝันในการสร้างภาพยนตร์ มีโอกาสเรียนรู้และทำความเข้าใจองค์ประกอบสำคัญหลักๆ ของภาพยนตร์ร่วมกับผู้มีประสบการณ์ อาจารย์ในมหาวิทยาลัย เพื่อนักศึกษาและคนรุ่นใหม่มีพื้นที่ได้เฉิดฉาย โดยสักวันหนึ่งเมล็ดพันธุ์เหล่านี้จะกลับมางอกเงยออกดอกออกผลในบ้านเกิดปักษ์ใต้ส่งแรงกระเพื่อมให้กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่อไป#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

อะไรที่ซ่อนอยู่ในความหมายของคำว่า 'ถึงทีใต้ ได้แรงอก!'

อะไรที่ซ่อนอยู่ในความหมายของคำว่า‘ถึงทีใต้ ได้แรงอก!’คนใต้ทั้งทีจะได้แรงอกเฉยๆ ได้ไง มันต้องสะท้านไปถึงในอกแบบคนใต้ ต้อง “ด่าย-แหร่ง-อ็อก” ถึงจะถูกอกถูกใจ เมื่อเจอใครทำถึง ทำสุด เราจะต้องร้องออกมาเพื่อบอกต่อความรู้สึกประทับใจแบบฉบับคนใต้ประโยคที่ว่า ‘คนใต้จริงใจ ทำอะไรก็ถึงใจ’ คงเป็นภาพจำของใครหลายคน เพราะคาแรกเตอร์ที่จริงใจ พูดจาฉะฉาน สนุกสนานเฮฮา ยิ่งแหลงใต้ด้วยแล้ว ยิ่งถึงใจสุดๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้แสดงออกแค่ในผู้คน แต่ยังเห็นได้ชัดในรสอาหารปักษ์ใต้ ที่เผ็ดร้อน จัดจ้านถึงใจอีกด้วย เช่นเดียวกับนักร้องและวงดนตรีดังจากภาคใต้ที่สะท้อนเอกลักษณ์ฉบับคนใต้ให้คนทั้งประเทศได้รู้จักอย่าง ‘เอกชัย ศรีวิชัย’ สร้างความสุขให้กับผู้ชมผ่านงานเพลงสนุกสนาน ทีเล่นทีจริงและถึงใจไปพร้อมๆ กัน โดยประยุกต์การร้องเพลงหนังตะลุงมาเป็นรากฐานสำคัญในการทำเพลง เขียนเพลงต่างๆ หรืออีกวงดนตรีในตำนานคือ ‘มาลีฮวนน่า’ จากนักเรียนศิลปะสู่ผู้สร้างบทเพลงเพื่อชีวิตที่เพราะพริ้งกินใจ ด้วยสำเนียงการร้องและเนื้อเพลงแบบคนใต้รักจริง ทั้งการสะท้อนสังคม ความหวัง ความฝัน การส่งต่อพลังบวก สื่อสารผ่านน้ำเสียงได้กลิ่นอายปักษ์ใต้อย่างเป็นเอกลักษณ์ประกอบกับความภาคภูมิใจในท้องถิ่น ที่นักสร้างสรรค์หลายท่านมักภูมิใจและแสดงอัตลักษณ์ภาคใต้มาเสมอ เฉกเช่นในสื่อออนไลน์ที่เราเห็นผ่านตาในปัจจุบัน เทรนด์การทำคอนเทนต์สอนพูดภาษาใต้แบบพูดทีแล้วมันสนุกหรอยแรง ได้เสียงหัวเราะจนไม่รู้จะอธิบายอย่างไร เพราะแค่นำ้เสียงรวมกับอินเนอร์ของคาแรกเตอร์คนใต้ที่ถึงอกถึงใจนี้เอง ล้วนเป็นเสน่ห์สำคัญที่น่าค้นหา เชื้อเชิญให้ใครหลายคนอยากจะรู้จักปักษ์ใต้มากยิ่งขึ้นรสชาติและสีสันของอาหารใต้ที่จัดจ้านจากเครื่องแกงเข้มข้น สามารถพาให้ไปรู้จักถึงบริบทสังคมแบบพหุวัฒนธรรมตั้งแต่ไทย จีน มุสลิม ความหลากหลายเหล่านี้ยังพบเห็นได้ในงานฝีมือทั่วทั้งภาคใต้ เช่น ผ้าปาเต๊ะ ว่าวบูรงนิบง กระเป๋าสานย่านลิเภา ล้วนเชื่อมโยงมาถึงมหรสพที่ไม่ซ้ำและทรงเสน่ห์อย่างมโนราห์ หนังตะลุง ลิเกฮูลู ต้นทุนทางวัฒนธรรมเหล่านี้นำมาสู่การต่อยอดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งในภาคธุรกิจ การค้า งานบริการ หรือการท่องเที่ยว ที่ติดเช็กลิสต์ระดับโลก จนกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจไปปรากฏบนภาพยนตร์ทั้งในไทยและต่างประเทศไม่ว่าได้แรงอกของแต่ละคนจะกินลึกไปในหัวใจแบบไหนก็ตาม จะสนุกสนานเหมือนเพลงหมากัด ลึกซึ้งเหมือนเพลงถนนแปลกแยก หรือสะท้อนความรู้สึกจริงจังจริงใจอย่างในมหาลัยวัวชน ต่อให้สื่อสารออกมารูปแบบใด ‘คาแรกเตอร์ของภาคใต้’ ก็ได้แรงอกกันเต็มที่ พร้อมด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและน่าค้นหานานานับไม่ถ้วนมารู้จักว่า “ด่าย-แหร่ง-อ็อก” แบบคนใต้มันเป็นพันพรื้อ ในเทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2567: The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก! 17 – 25 สิงหาคม 2567 เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศน์สร้างสรรค์ที่หลากหลายวัยและชูโรงพหุวัฒนธรรมที่เป็นตัวเอกของภาคใต้ให้เฉิดฉายมากกว่าที่เคยเพราะคนใต้ทำทั้งที ต้องให้หรอย ต้องทำให้สะท้านไปในหัวอกหัวใจ ให้ “ด่าย-แหร่ง-อ็อก”_#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

ตีโจทย์แนวคิด Key Visual จากต้นทุนสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมใต้ในเทศกาล Pakk Taii Design Week 2024

ตีโจทย์แนวคิด Key Visual จากต้นทุนสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมใต้ ของ SoulSouth Studio ในเทศกาล Pakk Taii Design Week 2024เทศกาลงานออกแบบประจำภาคใต้ หรือ Pakk Taii Design Week วนกลับมาอีกปี โดยปีนี้มาในธีม ‘ถึงทีใต้ ได้แรงอก!’ แน่นอนว่า ปราการด่านแรกของเทศกาลงานออกแบบก็คงต้องยกให้เป็นการออกแบบ Key Visual (KV) ซึ่งก็คือการสื่อสารคอนเซ็ปต์หลักของเทศกาล โดยความสำคัญของ Key Visual คือการสร้างภาพจำเพื่อสื่อสารถึง ‘ธีม’ หรือ ‘คอนเซ็ปต์’ หลักของงานเทศกาลผ่านการออกแบบกราฟิกลงบนโปสเตอร์ โบรชัวร์ บิลบอร์ด และงานอาร์ตเวิร์กสื่อสารทางออนไลน์อีกหลากหลาย ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีผลงานการออกแบบอย่างต่อเนื่องนั่นคือ SoulSouth Studio ได้ร่วมกันออกแบบ Key Visual ประจำงานปักษ์ใต้ดีไซน์วีคในปีนี้Key Visual หลักของกลุ่ม SoulSouth Studio คือการนำสินทรัพย์และทรัพยากรทางภาคใต้ โดยเฉพาะทะเล ภูเขา หรือมรดกทางวัฒนธรรมที่รวมไปถึงพหุวัฒนธรรมทั้งจีน ไทย หรือมุสลิม ด้วยการแปลความหมายของคำว่า ‘The South’s Turn’ การหวนคืนสู่ปักษ์ใต้ และการแสดงศักยภาพในแบบของคนใต้ หรือ Your Turn ที่แปลว่า ถึงตาเธอแล้ว! ผ่านงานภาพกราฟิกโดยการตีความคีย์หลักของภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัดในลักษณะรูปทรงเรขาคณิต 14 ช่อง 14 ล็อก ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากับจำนวนจังหวัดพอดี ส่วนการเลือกใช้โทนสีก็กินความหมายถึงอาหารพื้นถิ่นทางภาคใต้ เช่น แกงไตปลา แกงส้ม แกงคั่วกะทิ ฯลฯ ยังรวมถึงการตีโจทย์ตามหลักการทางภูมิศาสตร์อย่างทะเลหรือภูเขา อย่างเช่นการออกแบบฟอนต์รูปตัว ‘S’ ให้เหมือนกับการม้วนตัวของเกลียวคลื่นในทะเล คล้ายเป็นการ ‘กลับมา’ และ ‘ออกไป’ (จากบ้านเกิด) อีกด้วย นอกจากนี้ งานออกแบบของกลุ่ม SoulSouth Studio มักจะให้ภาพจำของงานออกแบบกราฟิกที่มีสีสัน Colorful สดชื่น มีชีวิตชีวา อย่างที่พวกเขาพูดติดตลกกันว่า ‘พวกเรา…ซ่า แต่ก็สดชื่น’ สอดคล้องกับการสร้างสรรค์งานออกแบบ Key Visual ของพวกเขาไม่ใช่เล่นๆนับย้อนกลับไปไม่กี่ปีก่อน กลุ่มคนหลากเจนเนอเรชั่นที่รวมตัวกันขับเคลื่อนพื้นที่บ้านเกิดให้กลายเป็นเมืองแห่งสีสันแปลกตาที่หลายๆ คนน่าจะจดจำพวกเขาได้ นั่นคือ ‘YALA STORIES’ ที่มีนักออกแบบอย่าง SoulSouth Studio เข้ามาเสริมทัพเรื่องการออกแบบ Key Visual (KV) หรือแบรนด์ดิ้งที่เน้นสีสันสด ใหม่ แถมมีชีวิตชีวา ปีนี้ก็เช่นเดียวกัน SoulSouth Studio ได้รับโจทย์ใหญ่จากงานปักษ์ใต้ดีไซน์วีค ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 17-25 สิงหาคม 2567 โดยออกแบบ Key Visual ประจำเทศกาลที่พวกเขาผ่านการเบรนสตรอมร่วมกันหลายเดือนจนออกมาเป็น Key Visual ในแบบที่เห็นพ้องอย่างลงตัวSoulSouth Studio คือกลุ่มนักออกแบบและสตูดิโอออกแบบที่รับปรึกษาด้านการสร้างแบรนด์ดิ้ง รวมถึงการวางแผนงาน การจัดนิทรรศการ ฯลฯ ก่อตั้งโดย การีม-อับดุลกะริม ปัตนกุล และเปา-เฟาซี สาและ ตั้งแต่พวกเขาเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 4 ซึ่งแบรนด์ที่เคยร่วมงานกับ SoulSouth Studio อย่าง สสส., ททท., UNICEF for every child., a.e.y.space, BUSAN International Film Festival เป็นต้น ปัจจุบัน SoulSouth Studio มีสมาชิกด้วยกัน 5 คน คือ การีม-อับดุลกะริม ปัตนกุล, เปา-เฟาซี สาและ, มีนา-อามีณา อาแล, ดีน-นุรดีน กาซอ และฟิต-ฮาฟิส กาซอSoulSouth Studio บอกว่า Key Visual ในความหมายสำหรับพวกเขาคือองค์ประกอบหลักที่สร้างความประทับใจต่อการสื่อสาร หรือเปรียบเสมือนหัวหน้าห้องที่คอยควบคุมทิศทางและดูภาพรวมให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมไปถึงการเล่าเรื่องโดยขมวดเรื่องราวตามโจทย์นั้นๆ ด้วยการใช้กลไกการออกแบบกราฟิกเพื่อสื่อสารออกไป และต้องตีความให้คนเข้าใจได้ง่าย เห็นแล้วกระฉับกระเฉง รวมถึงซ่อนความนัยให้ออกมาอย่างมีความหมายไปด้วยในตัวการกลับมาคีย์หลักของการจัดงานปักษ์ใต้ดีไซน์วีคในปีนี้มาในธีม ‘THE SOUTH’S TURN ถึงทีใต้ ได้แรงอก!’ เป็นการพูกถึงปรากฏการณ์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ชาวปักษ์ใต้ที่ ‘กลับมา’ มองหาของดีในบ้านเกิดและรวมตัวกันสร้างสรรค์งานที่หลากหลาย ทางทีม Soulsouth Studio ตีโจทย์ออกมาเป็นคอนเซ็ปต์ตั้งต้นถึงความเป็น ‘เซาเทิร์น’ หรือ ‘ภาคใต้’ ที่หมายถึงการกลับมาสานต่อกิจการและพัฒนาบ้านเกิดในแบบของตัวเอง หากสังเกตจากโปสเตอร์ประจำงานปักษ์ใต้ดีไซน์วีคของปีนี้จะเห็นว่ามีการออกแบบภาพกราฟิก 14 ช่อง เท่ากับว่าเป็นภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด และเปรียบเสมือนการกลับมาสู่บ้านเกิด และออกไปจากบ้านเกิดก็ได้เช่นเดียวกัน “พวกเราอยากออกแบบ Key Visual ให้ออกมาเป็น International SoulSouth เราก็เอาโจทย์ ‘Southern’ กับ ‘ถึงทีใต้ ได้แรงอก!’ มาตีความ เช่น คนเดินทางกลับบ้านมาพัฒนาของดีในภาคใต้ ตอนแรกตีโจทย์ออกมา 4 แบบ บางอันโมเดิร์น บางอันเป็น Traditional บางอันหลุดธีมไปเลยก็มี เลยจบในแบบที่เห็น” เปาอธิบายการีมเล่าบ้างว่า “Key Visual จะแบ่งเป็นสมการง่ายๆ ประมาณ 3 เลเยอร์ เลเยอร์แรกคือ ‘อดีต’ ที่เป็น Background ของคนใต้ เลเยอร์ที่สองคือ ณ ‘ปัจจุบัน’ ของคนคนนั้น และเลเยอร์ที่สามคือการเดินทางกลับมาพัฒนาบ้านเกิดให้ดีขึ้นใน ‘อนาคต’ ที่ใช้ Element สื่อถึงเป็นใต้ในแง่มุมทางศาสนา การแต่งกาย วัฒนธรรม ที่ไม่อยากให้ดูทื่อเกินไป เลยลดทอนให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต แต่เราไม่ได้แตะเรื่องศาสนานะ เราเน้นเรื่องวัฒนธรรมมากกว่า พยายามใส่ให้คละกันในทุกพื้นที่หรือทุกจังหวัดในภาคใต้ ไม่ได้เป็นวัฒนธรรมจ๋าแค่ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง” ส่วนมีนาอธิบายเสริมว่า “ถ้าสังเกตดีๆ เราวางคอนเซ็ปต์ Key Visual บนโปสเตอร์ออกเป็น 14 ช่อง หมายถึงภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด จะมองในแง่การเดินทางกลับมาและออกไปก็ได้ หรือจะมองในมุมของการแบกสัมภาระของคนที่เพิ่งกลับมาบ้านหรือออกไปจากบ้านก็ได้เช่นกัน หรือการนำตัวอักษรตัวแรก นั่นคือ ‘S’ ที่มาจากคำว่า ‘SOUTH’S TURN’ ที่แปล Key Visual ออกมาเหมือนเช่นการม้วนตัวไหลวนของเกลียวคลื่นในทะเลทีม SoulSouth Studio ออกความเห็นเพิ่มว่า Key Visual จะไม่ตายตัวอยู่แค่เรื่องคอนเซ็ปต์ อีกเรื่องที่สำคัญคือ ‘ฟังก์ชั่น’ ในการออกแบบที่ต้องมีความครีเอทีฟมากๆ โดยการนำตัวตนของ SoulSouth เพิ่มเข้ามาด้วย เช่นการเล่นสีแบบ Colourful ที่ดูแล้วสดชื่น ซึ่งการสื่อความถึง ‘สี’ ในการออกแบบครั้งนี้ก็แฝงด้วยนัยของความเป็น ‘ภาคใต้’ อย่างเช่น ‘สีเหลือง’ มาจาก ‘แกงกะทิ’ หรือจะเป็น ‘สีส้ม’ คือสีของเครื่องแกงที่นำไปทำแกงส้มทางภาคใต้ ส่วน ‘สีน้ำตาลเข้ม’ คือสีของ ‘แกงไตปลา’ หรือ ‘สีฟ้า’ แทนค่าจากท้องทะเล หรือ ‘สีน้ำตาล’ แทนค่าถึงภูเขา ความเป็นพื้นดิน ฯลฯ องค์ประกอบจะมีความหลากหลายทั้งเชื้อชาติ วัฒนธรรม ภูมิภาค หรือพื้นที่ทางภาคใต้ยังคงอยู่สำหรับงานปักษ์ใต้ดีไซน์วีคในปีนี้ต่างจากปีที่แล้วตรงที่ได้เพิ่มรูปแบบการ Collaboration ของทั้งนักออกแบบในพื้นที่และนักออกแบบนอกพื้นที่เข้ามาร่วมสร้างสรรค์งานร่วมกัน ซึ่งไม่ได้มีแค่นักออกแบบในพื้นที่ภาคใต้อย่างเช่นปีที่แล้ว เพื่อให้เกิดการต่อยอดแลกเปลี่ยนไอเดียใหม่ๆ ทั้งจากมุมมองของคนนอก รวมถึงความคุ้นเคยและความเชี่ยวชาญของคนในพื้นที่ซึ่งกันและกันSoulSouth Studio ผลัดกันอธิบายว่า การเกิดขึ้นของงานนี้ แท้จริงแล้วคือการเข้าไปเสริมให้ด่านหน้าของชุมชนได้มีศักยภาพทางด้านทุนวัฒนธรรมที่ส่งผลให้นักออกแบบรุ่นใหม่มีเวทีได้แสดงฝีมือร่วมกับชุมชน คล้ายการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เอ็นจอยปล่อยของจนเห็นผลงานเป็นรูปธรรมมากขึ้น หากมองในเชิงระยะยาวแล้ว การออกแบบก็มีผลดีต่อพื้นที่และผู้คนที่ไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่ง แต่ทั้งภูมิภาคทางใต้ ทุกคนเหมือนมีแสงสปอตไลต์ส่อง หรือเป็นหยดน้ำเล็กๆ ที่กระจายออกไปในวงกว้าง“พวกเราจะถูกสอนมาเสมอว่า ‘การออกแบบคือการแก้ปัญหา’ ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบพื้นที่หนึ่งๆ การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ หรือการออกแบบสัญลักษณ์ (โลโก้ แพ็กช็อต บิลบอร์ด โปสเตอร์) ที่เข้าใจง่าย เราเป็นแค่คน ‘สร้างภาพ’ ให้เหมาะกับบริบทนั้นเพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุด” การีมเสริม ส่วนเปาเล่าอย่างเป็นกันเองว่า การเปิดโอกาสให้กลุ่มบุคคลหลากหลายเห็นถึงประโยชน์ทางความคิดสร้างสรรค์หรืองานออกแบบเหมือนช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ เพราะนักออกแบบเป็นเหมือนตัวกลางที่ซัพพอร์ตการทำงานทางด้านความคิดสร้างสรรค์ในแง่มุมต่างๆ แล้วแต่บริบท เช่น ผู้คน พื้นที่ ย่าน ชุมชน เมือง รวมไปถึงโครงสร้างอาคาร เป็นต้น เหมือนเช่นการเปิดพื้นที่ให้นักออกแบบได้แสดงศักยภาพว่าสิ่งเดิมเหล่านั้นยังคงอยู่ ไม่หายไปไหน แค่ปรุงความครีเอตให้กลมกล่อมและยืนพื้นจนกลายเป็นรูปธรรมที่เห็นชัดความเป็นไปได้ใหม่กลับมาที่ เรื่องของงานออกแบบ เอาเข้าจริง คำว่า การออกแบบ จะมาคู่กับคำว่า ‘Potential’ หรือ ‘ความเป็นไปได้’ ควบคู่กันมาเสมอ เพราะเมื่อตอนที่ทีม SoulSouth ได้รับโจทย์ให้ออกแบบ Key Visual ของงานในปีนี้ การีมบอกว่าพวกเขาต้องคำนึงถึง ‘ความเป็นไปได้’ ก่อนอันดับแรก นักออกแบบจะต้องทำการบ้านโดยการจินตนาการว่า หากได้รับโจทย์นี้มา งานออกแบบชิ้นนี้จะเป็นไปในทิศทางไหน ต้องสวมตัวเป็นนักจินตนาการแล้วสื่อสารโจทย์นั้นให้กลายเป็นภาพที่สื่อสารเข้าใจง่ายหากมองกลับมาถึงความเป็นไปได้ใหม่ในบ้านเกิด สำหรับมีนาแล้วเธอมองว่า ถึงแม้ในภาคใต้ยังไม่เด่นมากพอในด้านความคิดสร้างสรรค์ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเลย อย่างน้อยยังมีเวทีให้จัดแสดงผลงานและยังมีคนที่สนใจแนวทางนี้อยู่ แต่ถ้าย้อนกลับไปเมื่อสามสี่ปีก่อน แทบจะมองไม่เห็นโอกาสหรือความเป็นไปได้ในสายงานทางด้านความคิดสร้างสรรค์แน่ๆ ถ้าขืนยังอยู่ที่บ้านเกิดการีมเล่าปิดท้ายว่า “เหมือนเราสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้คนในพื้นที่ เหมือนโพเทนเชียล เหมือนโอกาส เราเป็นเหมือนเคอร์รี่ เป็นแหล่งรวมสินค้าของผู้คนหลายที่มารวมอยู่ด้วยกัน มีนักออกแบบที่คอยให้บริการความรู้หรือลงพื้นที่ช่วยเหลือชาวบ้านหรือผู้ประกอบการในพื้นที่นั้น หรืออาจจะเป็นศูนย์กระจายสินค้าที่เปรียบเหมือนกระจายความรู้ทางด้านงานออกแบบออกไปสู่สายตาของผู้คน” มีนารีบเสริมว่า “เผื่อจะมีคนมาเห็น Potential นี้แล้วเอากลับไปสานต่อที่บ้านเกิดก็ได้”#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก

6 กลุ่มงานสร้างสรรค์หลักของเทศกาล Pakk Taii Design Week

6 กลุ่มงานสร้างสรรค์หลักของเทศกาลฯ เส้นเรื่องสำคัญของ Pakk Taii Design Week ครั้งนี้เทศกาลงานออกแบบปักษ์ใต้ 2567 ภายใต้แนวคิด “The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก!” นำเสนอหลากหลายเรื่องราวของภาคใต้ที่โดดเด่น เพื่อต่อยอดศักยภาพของเมืองและนักสร้างสรรค์ผ่านจุดเด่นด้าน อาหาร (Gastronomy) ภาพยนตร์ (Film) ศิลปะและงานฝีมือ (Art & Crafts of Living South) และงานพัฒนาเมือง (Livable City Project) ด้วยความร่วมมือจากเหล่านักสร้างสรรค์และเครือข่ายผู้ขับเคลื่อนเมืองในภาคใต้ (Pakk Taii Neighbor) ในบรรยากาศเทศกาลสร้างสรรค์ (Festival Vibe)Pakk Taii Design Week 2024 ระหว่างวันที่ 17 – 25 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดสงขลา หาดใหญ่ หาดสมิหลา จะนะ และปัตตานี ร่วมกับเครือข่ายอีก 14 จังหวัดในภาคใต้ภาพยนตร์ I Film ด้วยลักษณะภูมิประเทศ วัฒนธรรม อาหาร ผู้คนของภาคใต้ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร จึงกลายเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้คนทำหนังทำภาพยนตร์มากมายหยิบไปใช้เป็นต้นทุนในการทำหนังของตัวเอง เทศกาลภาพยนตร์จึงเกิดขึ้นที่นี่โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่ายคนสร้างสรรค์ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อนำไปสู่กลไกความร่วมมือในอนาคต เทศกาลในปีนี้มีโปรแกรมเกี่ยวข้องกับภาพยนตร์มากกว่าการฉายภาพยนตร์ ทั้งการบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้เติบโตในเส้นทางภาพยนตร์ ทั้งกระทบไหล่คนทำงานเบื้องหลัง แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวคิดในเสวนา ไปจนถึงการแสดงสดและทัวร์MicroWAVE Film Fest โปรแกรมมีดังนี้ – ภาพยนตร์และสารคดีในคอนเซปต์ The Shorts, The South’s และ The Specials รวมแล้วมากกว่า – นิทรรศการ Living Dialogue ชุบชูบทหนังปักษ์ใต้ สำรวจความคิดตัวละครผ่านวรรคทองในภาพยนตร์– เสวนาและเวิร์กช็อปมากกว่า – ทัวร์ – การแสดงสด – กิจกรรมพบปะพูดคุยกับคนเบื้องหลังอาหาร I Gastronomyอาหารใต้มีความพิเศษไม่เหมือนใครและยังเต็มไปด้วยความหลากหลายที่มีที่มาจากวัฒนธรรมผสมผสาน ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้สำรับของคนใต้โดดเด่นและแตกต่าง ‘ตำรับลับสำรับใต้’ ที่รวบรวมองค์ความรู้และการต่อยอดเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมอาหารใต้อย่างไร้พรมแดน ไม่เพียงต่อยอดกรรมวิธีการปรุงอาหาร แต่ลงลึกไปถึงวัตถุดิบและเครื่องครัวที่อยู่คู่บ้านเรือน อีกทั้งเปิดโลกการทานอาหารในฉบับ “พหุวัฒนธรรม” พร้อมทั้งชมและชิมเรื่องราวของครัวในภาคใต้โปรแกรมของอาหารใต้มีดังนี้– 100 Rhoi Experience Space Design นิทรรศการนำเสนอประสบการณ์เกี่ยวกับอาหารวัตถุดิบถิ่น เครื่องปรุงพิเศษ ภูมิปัญญา สูตรลับประจำบ้าน 100 ไอเท็ม– ‘TUM ROY-ทำหรอย’ Exhibition By Design Plant x Southern Designers นำเสนอข้าวของเครื่องใช้ พื้นที่และองค์ประกอบที่น่าสนใจในครัว เพื่อให้ได้อาหารจานหรอย ถูกนำมาออกแบบเพื่อต่อยอดใหม่ เกิดเป็น New Product และ New Function– มะเทเบิ้ล Pop-up Canteen 135+ เมนู ทั้งอาหารเมนูไทย เพอรานากันและมุสลิมทั้ง 9 วัน จาก 11 ชุมชนในภาคใต้– The Cloud Journey ทัวร์กินอาหารพร้อมความรู้อัดแน่น พาไปรู้เรื่องราวที่สูญหายหรือน้อยคนทราบ ทั้งขนม วัตถุดิบและอาหารจีน 5 เหล่า ตั้งแต่เช้าจรดคํ่า– ลักหยบ หลังร้าน By De South แอบส่องหลังร้านตำนานหาดใหญ่ทั้ง 10 แห่งโปรเจกต์สร้างความน่าอยู่ให้กับเมือง I Livable City Project โปรเจกต์เพื่อสร้างความน่าอยู่ของย่านและเมืองในบริบทภูมิภาคใต้ งานทดลองบนพื้นที่จริงนำเสนอแนวคิดเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิต และทดลองออกแบบเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่สู่การผลักดันให้เกิดการนำไปใช้จริงโปรแกรม Livable City Project มีดังนี้– SAMILA MERMAID By Sumphat Gallery ทั้งเวิร์กช็อป งานศิลปะจัดวางและนิทรรศการ– ห้องรับแขกของชุมชน By Trimode เก้าอี้ที่แทรกตัวอยู่ตามชุมชน ในตรอกซอกซอย– Na Studio x Meltdistrict งานศิลปะจัดวางที่หยิบองค์ประกอบสถาปัตยกรรมอาคารในเมืองเก่าสงขลา– Cloud-floor กิจกรรมเชิงทดลองกับเมือง ในเรื่องการจัดการพื้นที่ให้เดินสะอาด เดินสบายศิลปะและงานฝีมือ I Art & Crafts of Living South ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาในอดีต ทั้งงานหัตถกรรมพื้นบ้าน งานศิลปะของยุคสมัย ทำให้งานศิลปะและงานฝีมือของภาคใต้ยิ่งเก่ายิ่งเจ๋ง ‘Old is Cool’ การจัดแสดงศิลปะที่รวบรวมองค์ความรู้งานฝีมือของภาคใต้ สร้างตัวอย่างต่อยอดงานงานฝีมือช่างศิลป์ชั้นสูงของภาคใต้ในรูปแบบใหม่ผสมผสานการออกแบบ งานฝีมือ สืบทอดเทคนิค ทักษะพื้นถิ่นโบราณเข้ากับเทคโนโลยีและศาสตร์อื่น และส่งเสริมให้นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ได้เติบโตในบ้านเกิดได้ยั่งยืนโปรแกรม Art & Crafts มีดังนี้– Photo Deconstruction จากเทคนิคถ่ายภาพเชิงซ้อนของร้านไทยศิลป์เป็นนิทรรศการต่อยอด – Skill to Chair นิทรรศการเกี่ยวกับเก้าอี้และงานหัตถกรรมพื้นถิ่นภาคใต้ ด้วยฝีมือนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่มากประสบการณ์– Young Community กลุ่มนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ในพื้นที่โชว์เคส– Workshop Festival งานคราฟต์และศิลปะภาคใต้เติมเต็มบรรยากาศสร้างสรรค์ I Festival Vibe กิจกรรมกระตุ้นบรรยากาศสร้างสรรค์ที่ทุกคนเข้าถึงได้ นำเสนอศิลปะการแสดงหลากหลายรูปแบบ ผสมผสานระหว่างสมัยใหม่-ดั้งเดิม และผสานหลากหลายศาสตร์ โดยทำเมืองให้เป็นเสมือนโรงละคร (City as theater) ใช้ประโยชน์จากความงาม ทัศนียภาพ สถาปัตยกรรมของเมืองในช่วงเวลาต่างๆ (เช้า-กลางวัน-เย็น) ทั้งในรูปแบบพื้นที่เฉพาะเจาะจง (Site Specific) และเคลื่อนที่ได้ (Pop Up/ Mobile) ทำให้เกิดบรรยากาศใหม่ ประสบการณ์ใหม่แม้ในพื้นที่เดิม นำเสนอผ่านดนตรี การแสดงสด มหรสพและ Projection Mapping ครอบคลุมทุกช่วงเวลาตลอดเทศกาลโปรแกรม Festival Vibe มีดังนี้– Projection Mapping Showcase – Light up Town เติมแสงสว่างและสีสันให้กับเมือง– Interactive นิทรรศการที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม– Live Music การแสดงดนตรี– Performance การแสดงสดความร่วมมือจากเหล่านักสร้างสรรค์และชุมชน I Pakk Taii Neighbor จับมือกับเหล่านักสร้างสรรค์ ชุมชน และเครือข่ายผู้ขับเคลื่อนเมืองในภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงผู้คน สร้างเพื่อน ขยายเครือข่าย ให้งานสร้างสรรค์เบิกบานและเติบโตในภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมให้คนท้องถิ่นเป็นผู้ขับเคลื่อนหลักโปรแกรม Pakk Taii Neighbor มีดังนี้– วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง)– ชุมชนมัสยิดบ้านบน– ชุมชนจะนะ สงขลา– กลุ่มนักสร้างสรรค์ Melayu Living จากปัตตานี– กลุ่มนักสร้างสรรค์ Creative Nakhon จากนครศรีฯ– คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ศรีวิชัย– Opencall ผู้ประกอบการ นักสร้างสรรค์ ชุมชนในภาคใต้ 14 การจัดแสดงผลงาน 6 เสวนาและเวิร์กชอปและ 1 กิจกรรม#PTDW2024 #PakkTaiiDesignWeek #TheSouthsTurn #ถึงทีใต้ได้แรงอก